请用 Wechat 扫描台湾精品QRcode 或 搜寻ID: TaiwanExcellence
รางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมของไต้หวัน (Taiwan Excellence Award) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) ในทุกปีจะมีการดำเนินการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ “มีคุณค่าในด้านนวัตกรรม” โดยมีกลไกการคัดเลือกที่เข้มงวดใน 4 หัวข้อสำคัญอันได้แก่ “การวิจัยและการพัฒนา” “การออกแบบ” “คุณภาพ” และ “การตลาด” อีกทั้งยังต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ “ผลิตในไต้หวัน” อีกด้วย ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมของไต้หวันถือเป็นตัวแทนของอุตสาหกรรมของไต้หวัน ศูนย์การค้าไต้หวันจะเป็นฝ่ายรับผิดชอบในการส่งเสริมและการผลักดันออกสู่ตลาดโลก เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ทางด้านนวัตกรรมให้แก่อุตสาหกรรมของไต้หวัน
ในการคัดเลือกรางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมของไต้หวันแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกทำการคัดเลือกโดยคณะกรรมการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ดำเนินการตัดสินในสถานที่จริงเพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ “รางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมของไต้หวัน” และ “รายชื่อผลิตภัณฑ์ที่เข้ารอบรางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมของไต้หวันระดับคุณภาพทองคำและรางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมแห่งไต้หวันระดับคุณภาพเงิน” ในช่วงที่ 2 เป็นการตัดสิน “รางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมของไต้หวันระดับคุณภาพทองคำ” และ “รางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมแห่งไต้หวันระดับคุณภาพเงิน” ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดของการเป็นผลิตภัณฑ์ตัวแทนของไต้หวัน โดยผู้ทรงคุณวุฒิทั่วโลก รางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมของไต้หวันดำเนินการคัดเลือกมาถึง 28 ครั้งแล้ว จนถึงทุกวันนี้ ตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมของไต้หวันกลายเป็นตราสินค้าร่วมกันของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าในด้านนวัตกรรมของไต้หวัน และมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก
เมื่อต้องเผชิญกับแรงกดดันจากการแข่งขันและลักษณะตลาดที่มีความเป็นอิสระและโปร่งใสมากขึ้นในยุคโลกาภิวัฒน์ รวมถึงการค้าทางอินเตอร์เนตซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ศูนย์การค้าไต้หวันมุ่งมั่นที่จะยกระดับความสามารถในการเข้าสู่ตลาดทั่วโลก มอบบริการที่มีประสิทธิภาพและทันต่อความต้องการ ร่วมมือกันกับธุรกิจในการสร้างความแข็งแกร่งและความมั่งคงทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน สำหรับตลาดประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจ เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น หรือประเทศที่เป็นเป้าหมายสำคัญในการขยายตลาดการค้า เช่น อินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ก็ได้ใช้การตลาดหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ การจัดงานแสดงสินค้า การประกวดหรือการแข่งขัน การตลาดแบบปากต่อปาก การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การร่วมมือกับช่องทางการขายต่างๆ กิจกรรมส่งเสริมการขาย และการใช้สื่อดิจิทัล โดยยังคงรักษาลักษณะเด่นทางธุรกิจของไต้หวันในระบบ B2B และระบบ B2C เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและมีการบูรณาการ ยกระดับการรับรู้และการมีความรู้สึกที่ดีของผู้บริโภคในตลาดเป้าหมายต่อผลิตภัณฑ์คุณภาพเยี่ยมและอุตสาหกรรมโดยรวมของไต้หวัน เร่งการขยายตลาดการค้าของผลิตภัณฑ์ของไต้หวันไปสู่ตลาดเป้าหมาย